เปิดโลก ‘เครื่องดื่มให้พลังงาน’ ในมุมใหม่ มากกว่าให้พลังงาน คือได้ประโยชน์ด้วย

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น คนทำงาน หรือสายแอคทีฟ ทุกคนต่างต้องการเอเนอร์จี้ เพื่อทำกิจกรรมของตัวเองอย่างเต็มที่ ทำให้หลายคนหันมาดื่ม 'เครื่องดื่มให้พลังงาน' หรือ 'Energy Drink' เพื่อเพิ่มพลังหรือบูสตัวเองให้พร้อมลุยกิจกรรมหรือทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา
ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชีย เครื่องดื่มประเภทนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สำหรับคนที่อดนอน หรือต้องใช้พลังงานหนักเท่านั้น แต่กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการรีเฟรช ปลุกความกระปรี้กระเปร่า เตรียมพร้อมกับทุกกิจกรรม ทั้งทำงาน อ่านหนังสือ หรือออกไปลุยข้างนอก
ยิ่งในยุคนี้ เครื่องดื่มให้พลังงานรุ่นใหม่ ๆ ถูกพัฒนาให้มีประโยชน์ทางสารอาหารมากกว่าที่คิด
ลองไปเปิดโลกในมุมใหม่ของเครื่องดื่มให้พลังงาน ที่อาจไม่ใช่แค่แก้วพิเศษเวลาเหนื่อยล้า แต่คือพลังเสริมเล็ก ๆ ที่ช่วยให้วันธรรมดาดีขึ้นกว่าเดิม
จากภาพจำของเครื่องดื่มให้พลังงานว่าทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ อาจทำให้หลายคนกังวลถึงปริมาณคาเฟอีนที่อยู่ในเครื่องดื่ม ที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ แต่จริง ๆ แล้ว ปริมาณของคาเฟอีนที่อยู่ในเครื่องดื่มให้พลังงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ควบคุมปริมาณกาเฟอีนที่เป็นส่วนผสมไว้ว่าห้ามเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อขวดหรือกระป๋อง (หน่วยบรรจุ)
ยกตัวอย่าง เครื่องดื่มให้พลังงาน 1 กระป๋องปริมาณ 250 มล. มิลลิลิตร จะมีปริมาณคาเฟอีนเพียงแค่ 50 มก. หรือน้อยกว่านั้น หรือน้อยกว่ากาแฟกระป๋องถึง 2-3 เท่า เมื่อเทียบในปริมาณเท่ากัน โดยกาแฟ 1 กระป๋องปริมาณ 250 มล. มิลลิลิตร อาจมีคาเฟอีนสูงสุดได้ถึง 250 มก. เลยทีเดียว*
*อ้างอิงข้อมูลจาก https://chaladsue.com/article/510
นอกเหนือไปจากปริมาณของคาเฟอีนที่น้อยแล้ว รู้หรือไม่ว่า คาเฟอีนในเครื่องดื่มให้พลังงาน มีคุณสมบัติในการสร้างความตื่นตัวให้กับร่างกายและสมอง ดื่มแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ไม่ต่างจากกาแฟสดเลยทีเดียว เครื่องดื่มให้พลังงานจึงเป็นเครื่องดื่มที่ใคร ๆ ก็สามารถดื่มได้ในทุกโอกาส แถมยังมีประโยชน์อีกด้วย
อย่างที่เกริ่นไปว่า เครื่องดื่มให้พลังงานในยุคใหม่ มีการเติมสารอาหารสำคัญที่ให้กับประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไป โดยเฉพาะ ทอรีน กรดอะมิโนที่มีบทบาทสําคัญในร่างกาย รวมถึงวิตามินต่าง ๆ ทั้ง วิตามินบี 3 (Niacin) มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาท วิตามินบี 6 มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินบี 12 มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง เรียกว่าเป็นสารอาหารสำคัญที่มีในอาหารสุขภาพ
ทอรีน ถือได้ว่าเป็นพระเอกที่อยู่ในเครื่องดื่มให้พลังงาน เพราะโดยปกติแล้ว ทอรีน เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นมาเองได้ตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการทํางานของระบบประสาท** แต่เมื่อร่างกายเจ็บป่วย เกิดความเครียด หรือเหนื่อยล้า ร่างกายจะผลิตทอรีนได้น้อยลง การรับทอรีนเพิ่มเติมจากอาหารหรือเครื่องดื่ม จึงมีความสำคัญในการรักษาระดับทอรีนในร่างกายให้เป็นปกตินั่นเอง
นอกจากการรักษาระดับทอรีนจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติแล้ว ทอรีนยังให้ประโยชน์กับร่างกายถึง 3 ด้าน** ไม่ว่าจะเป็น
- บำรุงหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และลดความความดันเลือดได้
- เพิ่มสมรรถภาพในการออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มความทนทานของร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและพละกำลัง รวมไปถึงการช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและลดการเจ็บป่วยหลังออกกำลังกาย
- ช่วยชะลอวัย ลดการเสื่อมของเซลล์ ให้ร่างกายไม่เสื่อมสภาพไปตามวัย
จากคุณประโยชน์ต่าง ๆ ที่เล่าไปทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เครื่องดื่มให้พลังงานช่วยเพิ่มพลังงานถึงสองระดับ คือระดับร่างกายที่ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า รู้สึกแอคทีฟมากขึ้น และระดับสมอง ที่ช่วยให้สมองและระบบประสาททำงานได้อย่างเต็มที่ จึงกลายเป็นตัวเลือกของคนที่ต้องการพลังงานและสมาธิ เพื่อจดจ่อในการทำงาน
โดยคุณสมบัติของสารอาหารดังกล่าว มีอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มให้พลังงานของกลุ่มธุรกิจ TCP อาทิ เรดบูล กระทิงแดง เรดดี้ และโสมพลัส เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายในทุกกิจกรรม รวมถึงคนรุ่นใหม่ และยังเอาใจคนรักสุขภาพด้วยสูตรที่ไม่มีน้ำตาล อย่างเช่น Red Bull Soda เอเนอร์จี้ดริงก์กลิ่นผลไม้ ไม่มีน้ำตาล แต่มีทั้งทอรีน คาเฟอีน และวิตามินบี3, บี6, บี12 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยืนยันถึงนิยามใหม่ของเครื่องดื่มให้พลังงานว่า มากกว่าให้พลังงาน คือต้องมีประโยชน์
เครื่องดื่มให้พลังงาน จึงเป็นเครื่องดื่มที่ใคร ๆ ก็สามารถดื่มได้ในทุกโอกาส แถมยังมีประโยชน์อีกด้วย
**อ้างอิงข้อมูลจาก
- Brosnan JT, Brosnan ME. The sulfur-containing amino acids: an overview. J Nutr. 2006;136(6Suppl):1636s-40s.
- Santulli G, Kansakar U, Varzideh F, Mone P, Jankauskas SS, Lombardi A. Functional Role of Taurine in Aging and Cardiovascular Health: An Updated Overview. Nutrients. 2023;15(19).
- Azuma J, Sawamura A, Awata N, Ohta H, Hamaguchi T, Harada H, et al. Therapeutic effect of taurine in congestive heart failure: a double-blind crossover trial. Clin Cardiol. 1985;8(5):276-82.
- Fennessy FM, Moneley DS, Wang JH, Kelly CJ, Bouchier-Hayes DJ. Taurine and vitamin C modify monocyte and endothelial dysfunction in young smokers. Circulation. 2003;107(3):410-5.
- Waldron M, Patterson SD, Tallent J, Jeffries O. The Effects of Oral Taurine on Resting Blood Pressure in Humans: a Meta-Analysis. Curr Hypertens Rep. 2018;20(9):81.
- Kurtz JA, VanDusseldorp TA, Doyle JA, Otis JS. Taurine in sports and exercise. J Int Soc Sports Nutr. 2021;18(1):39.
- McGaunn J, Baur JA. Taurine linked with healthy aging. Science. 2023;380(6649):1010-1.
- Ló pez-Otí n C, Blasco MA, Partridge L, Serrano M, Kroemer G. Hallmarks of aging: An expanding universe. Cell. 2023;186(2):243-78.
- Li XW, Gao HY, Liu J. The role of taurine in improving neural stem cells proliferation and differentiation. Nutr Neurosci. 2017;20(7):409-15.
Writer: Wichapol Polpitakchai
Graphic Designer: Yanin Jomwong